เรามาดูสาเหตุที่ ถังบำบัดน้ำเสีย แตก ยุบ บุบ ว่ามีโอกาสเกิดจากอะไรได้บ้าง ถังแซทนี้แบ่ง ประเภทให้เข้าใจง่ายๆ ก่อนว่ามี 2 รูปทรง คือ ทรงกลม ผลิตจาก วัสดุPE และ ทรงแคปซูล ที่ผลิตจากไฟเบอร์กลาส FRP ส่วนที่จะอธิบายในบทความนี้ คือ ถังบำบัดไฟเบอร์กลาสแคปซูล ว่าควรมีวิธีดูแล ระมัดระวังเรื่อง การติดตั้งว่าต่างจากถังทรงกลมอย่างไรบ้าง
สาเหตุที่ ถังบำบัดน้ำเสีย แตก ยุบ บุบ
เคลียร์เศษหิน ก้อนอิฐ เศษไม้ และวัสดุต่างๆ ที่อาจไปทำอันตรายต่อถัง อาจทำให้ถังแตกร้าวรั่วซึมได้ โดยขั้นตอนนี้จะอยู่ใน ช่วงแรกของการเคลียร์พื้นที่เพื่อขุดดินเก่าขึ้นมา ขณะนั้นก็อาจจะเจอ เหล็กเก่า ไม้เก่าที่อยู่ใต้ดิน มานานแล้ว พวกนี้ถ้าหากเราปล่อยไว้ในหลุม ช่วงแรกที่ลงถัง วัสดุพวกนี้ อาจยังไม่ทำอันตรายต่อถัง
แต่หากเราเริ่มเอาทรายลง พรมน้ำ และใส่ทรายต่อเนื่อง พร้อมกับให้คนงาน ช่วยใช้แรงคนทำให้ดินแน่นตัว เศษวัสดุที่เราทิ้งไว้ในหลุม ก็จะค่อยๆขยับตัวตามการเคลื่อนไหว ของทรายด้วยเช่นกัน เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว คิดว่าอย่าประมาทจะดีกว่า เก็บเศษขยะต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการติดตั้งขึ้นมาให้หมด เพื่อขั้นตอนต่อไปจะได้ ตอกเข็มให้ถูกต้องตามสเปค และเทฐานรากให้เรียบร้อย รอเสร็จตัวแห้ง ก็พร้อมที่จะลงถัง
การกลบด้วยทราย จะทำให้ถังไม่ถูกบีบอัด จากดินเดิม ลดความเสี่ยงที่ทำให้ ถังเสียหาย ทรายมีคุณสมบัติที่ดี ในการติดตั้งถังบำบัด คือ ทำให้น้ำซึมลงด้านล่าง และรอบข้างได้เร็ว ไม่อุ้มน้ำเหมือนดิน เมื่อมีฝนตก ทรายจะไม่อุ้มน้ำแต่ทรายจะเป็นตัวให้น้ำ กระจายไปพื้นที่รอบข้าง ไม่ทำให้น้ำขังบริเวณถัง ถังจึงไม่ถูกบีบอัด ด้วยแรงกด ของน้ำหนักดิน
รัดลวดสลิงที่ถัง ป้องกันถังลอยเวลามีน้ำเข้าบ่อ และเพื่อให้ถังบำบัด อยู่ในแนวฐานราก เพื่อที่จะต่อท่อเข้า และท่อออกได้ดี ป้องกันการขยับตัวของถังง่ายต่อการติดตั้ง ในขั้นตอนถัดไป เพราะเวลากลบทรายจะไม่ทำให้ถังเคลื่อนตัว
ดินมีคุณสมบัติอุ้มน้ำ เมื่อฝนตกจะทำให้ดินอุ้มน้ำ เกิดน้ำหนักจากดิน กดลงมารอบบริเวณถังบีบอัด กระทำจากตัวถัง รอบข้างและบนบ่าถัง ทำให้ถังแตกเสียหายได้ เหตุนี้เอง คู่มือการติดตั้งจึง แนะนำให้ลูกค้าเลือกใช้ทรายหยาบ ถือเป็นการติดตั้งที่ถูกวิธี
การติดตั้งถังบำบัด ควรใช้แรงงานคน ในการเททรายลงหลุมรอบข้าง หากใช้รถแบคโฮลกลบ และวิ่งทำงานใกล้ถัง อาจทำให้น้ำหนักจากตัวรถแบคโฮล กดลงที่ดิน แรงดันจากใต้ดิน ซึ่งมีถังอยู่ใกล้ๆ ทำให้เกิดความเสี่ยง ของรถแบคโฮล อาจทำให้ถังเสียหายได้
สุดท้ายการใช้ ตัวตักของแบคโฮล ตักทรายแล้วเทลงบนถัง ทำให้น้ำหนักทราย ตกจากที่สูง กดลงที่บ่าถัง ทำให้เกิดความเสี่ยง ที่ถังอาจเสียหายได้ อาจดูเหมือนเรื่องเล็กน้อย ที่เป็นไปไม่ได้ แต่อยากให้นึกภาพตามว่า ถังบำบัดผิวบนสุดไม่มีน้ำเต็ม เพราะชดเชยด้วยท่อเข้า-ออก ทำให้ภายในห้องบนสุด ของถังบำบัดเป็นที่โล่งว่าง ไม่มีน้ำเหมือนกลางถัง เพื่อรับแรงดันจากทรายรอบข้าง
เมื่อชั้นบนสุด ของถังโล่งว่าง เจอกับน้ำหนักของทราย ที่ตักมาเต็มของแบ็คโฮล ถูกปล่อยจากที่สูงลงมา ก็จะเกิดแรง2ต่อคือ น้ำหนักของทราย และความสูงที่ถูกปล่อยลงมา จึงเกิดความเสี่ยง ที่ถังอาจจะเสียหายได้ การติดตั้งด้วยการลงทราย ส่วนใหญ่หลายที่ จึงแนะนำให้ใช้คน เอาทรายลง เพื่อความปลอดภัยของถัง
ใช้ทรายหยาบกลบเพื่อป้องกัน ถังบำบัดน้ำเสีย แตก ยุบ บุบ
ฐานรากที่เทปูนสำหรับวางถังต้องเรียบไม่เป็นคลื่นเป็นลอนนะคับ ไม่งั้นขาถังจะบิดตัว เคลียร์เศษหินที่ฐานและรอบๆหลุมออกให้หมดเติมน้ำแต่ละช่องให้เต็ม กลบด้วยทรายหยาบ ทุก 50 cm. และพรมน้ำลงบนทรายนิดหน่อย เพื่อให้ทรายแน่นตัว เพราะน้ำจะพาทราย ไหลเข้าไปในตำแหน่ง ที่คนกลบทรายไม่ได้ และเอาทรายลงต่ออีก 50 cm. และพรมน้ำ
ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนระดับทรายอยู่บนสุด ห้ามรถแบคโฮล วิ่งใกล้ถัง เพราะมีแรงดันจากใต้ดินบีบอัดถังได้ ห้ามรถตักแบคโฮล ตักทรายแล้วโยนทรายลงบนถังเพราะ ระดับความสูง+น้ำหนักทราย จะกดลงบนบ่าถัง ที่ไม่มีน้ำและภายในชั้นบนสุด ของถังเป็นที่โล่งว่าง จะทำให้ถังเสียหายได้