ถังเก็บน้ำแบบฝังดิน ขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ต่างกันอย่างไร

ถังเก็บน้ำแบบฝังดิน ขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ต่างกันอย่างไร

ถังเก็บน้ำแบบฝังดิน ขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ต่างกันอย่างไร

ถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาสขนาด 15,000 ลิตรราคาถูก

 

ต้องยอมรับว่าการเก็บน้ำกับคนไทยอยู่กันมาตั้งแต่โบราณกาล ซึ่งจะมีรูปแบบที่ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นตุ่ม โอ่ง ไห หรือเป็นสระ เนื่องจากภูมิประเทศไทยจะตั้งอยู่บริเวณบนเส้นศูนย์สูตรทำให้ในเวลาหน้าร้อนอากาศจะค่อนข้างแล้ง รวมถึงในอดีตบางพื้นที่ตามต่างจังหวัดแหล่งน้ำธรรมชาติจะอยู่ค่อนข้างไกล และลำบากต่อการจะใช้น้ำเวลาน้ำหมด

ดังนั้นจึงมีการออกแบบภาชนะสำหรับเก็บน้ำมามากมาย  แม้ว่าในปัจจุบันน้ำประปาจะเข้าถึงเกือบทุกที่ในประเทศไทยแล้วก็ตามคนไทยยังให้ความนิยมต่อการเก็บน้ำไว้ใช้ในกรณีที่น้ำประปาหยุดไหล ทำให้ยังคงมีการพัฒนาภาชนะในการกักเก็บน้ำอยู่ตลอดโดยจะเป็นถังเก็บน้ำบนดินอย่างที่เราเห็นตามบ้านเรือนทั่วไป

แต่ในบางกรณีที่บ้านบางหลังไม่มีพื้นที่สำหรับการติดตั้งถังเก็บน้ำบนดินทางเราก็จะมีถังเก็บน้ำใต้ดินที่ในปัจจุบันถูกพัฒนามาและได้รับความนิยมอย่างมาก และได้มีการผลิตขนาดถังเก็บน้ำแบบฝังดินขนาดเล็กและขนาดใหญ่ต่างกัน เพื่อให้เลือกใช้เหมาะสมกับจำนวนคนใช้งานค่ะ

 

ถังเก็บน้ำใต้ดิน 600 ลิตร        ถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาสทรงแคปซูลแบบฝังใต้ดินขนาด 20000 ลิตรราคาถูกมาก

 

ลักษณะของ ถังเก็บน้ำแบบฝังดิน ขนาดเล็กและขนาดใหญ่

ในปัจจุบันตามท้องตลาดทั่วไปก็จะมีอยู่ 2 ประเภท ซึ่งจะมีความต่างทางด้านรูปร่าง ซึ่งการเลือกใช้ถังแบทรงกลมจะเหมาะสำหรับการพื้นที่ที่มีความลึกไม่จำกัดและพื้นที่ความกว้างความยาวเป็นลักษณะสี่เหลี่ยมจัตุรัส แต่ถ้าเป็นแบบทรงแคปซูลจะเหมาะกับพื้นที่ที่มีเป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าและมีความลึกที่จำกัด

ซึ่งทางบริษัทฯจะจำหน่ายถังน้ำเริ่มต้นที่ 600 ลิตรไปจนถึง 6000 ลิตร สำหรับถังทรงกลม

ส่วนถังแบบแคปซูลจะเริ่มที่ 10000 ลิตรไปจนถึง 70000 ลิตร ส่วนราคาตัวถังทรงแคปซูลจะมีราคาที่ค่อนข้างสูงกว่า เนื่องจากตัววัสดุที่นำมาใช้ จะเป็นไฟเบอร์กลาสเป็นหลักและกระบวนการผลิตจะยุ่งยากกว่าทรงกลม

ถึงแม้จะมีความต่างที่ขนาดแต่วิธีการติดตั้งเบื้องต้นสามารถใช้การติดตั้งแบบถังบำบัดได้เลยแต่จะมีความต่างกันเล็กน้อย ดังนี้

  1. เตรียมพื้นที่ในการวางถัง โดยต้องขุดพื้นที่ในการวางถังให้มากกว่าขนาดถังอย่างน้อยด้านละ 30-50 เซนติเมตร เพื่อนำทรายหยาบกลบรอบถัง ยกเว้นบริเวณฝาถัง โดยแนะนำให้ติดตั้งให้ปากถังเสมอพื้นหรือเทคอนกรีตครอบถังเพื่อให้ง่ายต่อการดูแลรักษาในอนาคต
  2. ทำฐานคอนกรีตเพื่อวางถังความหนาประมาณ 15 เซนติเมตร โดยต้องตอกเสาเข็มด้วย (ในกรณีที่ดินบริเวณที่ติดตั้งไม่สามารถตอกเสาเข็มได้ วิธีแก้ไขให้ปัญหาอาจจะต้องเทคอนกรีตวางถังให้หนาขึ้น ทั้งนี้ความหนาของฐานที่เหมาะสมอาจจะต้องพึ่งพาวิศวกรโยธาหรือผู้รับเหมาที่เชี่ยวชาญในการทำติดตั้งถังน้ำ ถังบำบัดบริเวณดังกล่าว)
  3. ทำที่คล้องลวดสลิงเพื่อไม่ให้ในอนาคตถังลอยขึ้นมา ระยะห่างจากถังอาจจะอยู่ที่ประมาณ 10 – 15 เซนติเมตร
  4. นำน้ำใส่ถังและคล้องลวดสลิงเพื่อไม่ให้ถังขยับเขยื้อนหรือกันลอยในอนาคต โดยที่ถ้าเป็นถังแบบแคปซูลอาจจะง่ายต่อการคล้องเนื่องจากเป็นทรงแนวยาวแต่ถ้าเป็นทรงกลมอาจจะต้องหามุม ตำแหน่งที่จะรัดตัวถัง
  5. กลบถังด้วยทรายหยาบ และทุกๆ 20 เซนติเมตร ตอนที่กลบถังให้พรมน้ำด้วยเพื่อให้ทรายเซ็ทตัว ข้อแนะนำไม่ควรใช้ดินเนื่องจากในดินจะมีหิน เศษไม้ หรือของมีคม ที่เวลานานๆไปเมื่อดินเซ็ทตัว ตัวหินและเศษไม้เหล่านี้อาจจะกด ทับ ทำให้ถังรั่วได้ ซึ่งเป็นที่ยุ่งยากต่อการซ่อมแซมในอนาคต
  6. ก่อนฝังทรายกลบ หรือเทปูนซีเมนต์ เช็คก่อนว่าเดินท่อน้ำออกและท่อระบายอากาศเรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นก็เป็นอันเสร็จสิ้น สามารถใช้ถังน้ำได้เลยในทันที

ถังเก็บน้ำ แบบฝังดิน ทรงกลม

การเลือกใช้ถังเก็บน้ำที่เหมาะสมกับหน้างานก็เป็นสิ่งสำคัญเพราะพื้นที่บ้านแต่ละที่มีไม่เหมือน แต่สิ่งสำคัญคือคงปฏิเสธไม่ได้ว่าถังน้ำเป็นสิ่งที่ยังจำเป็นอยู่ เพื่อป้องกันเหตุในอนาคตที่น้ำจะหยุดไหลหรือบางพื้นที่ที่น้ำไหลไปไม่พอ

บทความอื่นๆ