คำอธิบาย
ในถังบำบัดน้ำเสียของเราทุกใบ จะมี หัวเชื้อจุลินทรีย์ บรรจุอยู่ ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านั้น จะทำหน้าที่ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ต่างๆที่อยู่ในน้ำเสีย โดยใช้อินทรีย์วัตถุในน้ำเสียเป็นแหล่งพลังงานในการทำปฏิกิริยาทางชีวเคมี ทำให้สารอินทรีย์ในน้ำและตะกอนลดลง รวมถึงกลิ่นเหม็นน้ำเสียยังลดลงด้วย ส่งผลให้น้ำมีคุณภาพดียิ่งขึ้น ก่อนระบายลงสู่แหล่งน้ำ
ประโยชน์ของ หัวเชื้อจุลินทรีย์ ในถังบำบัดน้ำเสีย
ในถังบำบัดน้ำเสียทุกใบควรที่จะมีหัวเชื้อจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย เนื่องจากจุลินทรีย์เหล่านี้จะไปย่อยสลายของเสียต่างๆที่เป็นสารอินทรีย์ซึ่งอยู่ในถังบำบัดน้ำเสียหรือถังแซทนั่นเอง ผลจากการทำงานของจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียเหล่านี้ (ซึ่งมีทั้งแบบใช้อากาศ และไม่ใช้อากาศในการทำปฏิกิริยาเพื่อย่อยสลายของเสีย ) จะทำให้น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดออกมามีค่า BOD ตามที่กรมควมคุมมลพิษกำหนด ทำให้ไม่มีกลิ่นเหม็นออกมาจากท่อ และยังเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
การใช้งานหัวเชื้อจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย
การใส่จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียลงในถังบำบัดน้ำเสียควรจะใส่หลังจากเริ่มมีคนเข้าพักอาศัยไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว คอนโดมิเนียม อพาร์ทเม้นท์ และอาคารสำนักงานต่างๆ ภายใน 1 อาทิตย์ และไม่ควรใส่หัวเชื้อจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียลงไปก่อนที่จะมีคนเข้าพักอาศัย เนื่องจากตัวจุลินทรีย์จะตายเพราะไม่มีของของเสียหรือสารอินทรีย์ต่างๆที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตให้ตัวมันย่อยสลาย
จะใส่หัวเชื้อจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียลงในถังบำบัดหรือถังแซทอีกครั้งเมื่อไหร่หลังจากใส่ไปครั้งแรก?
หลังจากการติดตั้งถังบำบัดน้ำเสียและใส่จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียลงไปแล้ว ( ภายใน 1 อาทิตย์หลังจากเริ่มมีผู้เข้ามาพักอาศัย ) เราควรที่จะมีการทำความสะอาดระบบบำบัดน้ำเสียโดยการดูดส้วมปีละ 1 ครั้งเพื่อที่จะดูดเอาสิ่งปฏิกูลรวมถึงเศษขยะต่างๆที่จุลินทรีย์ไม่สามารถย่อยสลายได้ออกมา และยังเป็นการทำความสะอาดทำให้ระบบการบำบัดภายในตัวถังบำบัดน้ำเสียทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย
เมื่อเราผ่านกระบวนการของการดูดส้วมไปแล้ว ที่นี้เราก็จะต้องใส่หัวเชื้อจุลินทรีย์สำหรับบำบัดน้ำเสียลงไปใหม่ เนื่องจากตัวจุลินทรีย์ของเดิมนั้นได้ถูกดูดออกไปหมดแล้ว เราจึงจำเป็นต้องใส่จุลินทรีย์สำหรับบำบัดน้ำเสียลงไปใหม่ เพื่อให้มันได้เข้าไปย่อยสลายของเสียและสารอินทรีย์ต่างๆตามกระบวนการเหมือนเดิม